หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  อาหารที่มีโซเดียมสูงมีอะไรบ้าง รวมตารางข้อมูลอาหารและเครื่องปรุง

อาหารที่มีโซเดียมสูงมีอะไรบ้าง รวมตารางข้อมูลอาหารและเครื่องปรุง

อาหารที่มีโซเดียมสูงมีอะไรบ้าง รวมตารางข้อมูลอาหารและเครื่องปรุง

เมื่อพูดถึงการป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการจำกัดโซเดียม แต่หากจะทำได้เราก็ต้องรู้ปริมาณโซเดียมในอาหารเสียก่อน

YouTube player

ในบทความนี้ ทางเอินเวย์ก็เลยขออาสานำตารางข้อมูลปริมาณโซเดียมในอาหารและเครื่องปรุง พร้อมด้วยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง มาให้ทุกท่านได้ชมกันแบบง่ายๆ เองค่ะ

โซเดียมคืออะไร

โซเดียม คือแร่ธาตุที่พบได้ในอาหารและเครื่องปรุงแทบทุกชนิด โดยมักจะอยู่ในรูปโซเดียมคลอไรด์ หรือที่เราเรียกกันว่าเกลือนั่นเอง

ด้วยรสเค็มที่ถูกใจใครหลายคน ประกอบกับคุณสมบัติในด้านการถนอมอาหาร โซเดียมจึงมักจะถูกใช้ในอาหารและเครื่องปรุงต่างๆ ในปริมาณมาก ซึ่งก็เป็นที่มาของปัญหาโซเดียมเกิน และผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นตามมา

ประโยชน์และโทษของโซเดียม

แท้จริงแล้ว โซเดียมนั้นถือเป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับร่างกาย โดยจะมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ รวมถึงกลไกการควบคุมสมดุลน้ำ

แต่ก็อย่างที่ทราบกันดี ปัญหาการขาดโซเดียมนั้นถือเป็นสิ่งที่พบได้ยาก หลักๆ แล้ว ปัญหาในปัจจุบันจะอยู่ที่การได้รับโซเดียมเกินมากกว่า ซึ่งก็จะมีโทษดังนี้

  • ความดันเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการได้รับโซเดียมเกิน จะมีผลเพิ่มปริมาณน้ำในกระแสเลือด และกระตุ้นให้ผนังหลอดเลือดหดตัว ซึ่งการมีความดันสูงก็จะทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต และอีกหลายๆ โรคมากขึ้น
  • เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องสูญเสียแคลเซียมทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นจากการขับโซเดียม
  • เสี่ยงต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น เนื่องจากโซเดียมที่เข้มข้นจะทำให้เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารเสียหาย

ปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน

ด้วยโทษต่างๆ ที่เกิดจากการได้รับโซเดียมเกิน ทั้งองค์การอนามัยโลก และกรมอนามัยของไทย จึงได้แนะนำปริมาณโซเดียมที่ผู้ใหญ่ทั่วไปควรได้รับไว้ที่ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเทียบเป็นเกลือได้ประมาณ 5,000 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชา

ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุง

ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงต่างๆ อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น

เครื่องปรุงปริมาณปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม)
เกลือป่น1 ช้อนชา2,000
น้ำปลา1 ช้อนโต๊ะ1,350
ซีอิ๊วขาว1 ช้อนโต๊ะ1,190
ซอสถั่วเหลือง1 ช้อนโต๊ะ1,187
น้ำพริกตาแดง1 ช้อนโต๊ะ560
ซอสหอยนางรม1 ช้อนโต๊ะ518
น้ำจิ้มไก่1 ช้อนโต๊ะ385
น้ำพริกปลาร้า1 ช้อนโต๊ะ360
ซอสพริก1 ช้อนโต๊ะ231
ซอสมะเขือเทศ1 ช้อนโต๊ะ149

*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงที่เราใช้อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละสูตรแต่ละยี่ห้อ ซึ่งก็สามารถดูได้จากฉลากโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์เครื่องปรุง

ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดแป้ง

ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดแป้ง อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น

อาหารหมวดแป้งปริมาณปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม)
บะหมี่ลวก75 กรัม153
ขนมปังโฮลวีท30 กรัม125
ขนมปังขาว30 กรัม117
ขนมจีน90 กรัม42
ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กลวก30 กรัม40
ข้าวเจ้า55 กรัม19
วุ้นเส้นสุก100 กรัม7
ข้าวเหนียว35 กรัม4

*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดแป้งที่เรากิน อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการปรุงประกอบอาหาร

ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดโปรตีน

ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดโปรตีน อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น

อาหารหมวดโปรตีนปริมาณปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม)
ไข่เค็ม1 ฟอง450
ไส้กรอกหมูสุก30 กรัม388
หมูแฮมสุก30 กรัม356
ปลาทูทอด50 กรัม305
หมูยอสุก30 กรัม227
เนื้อกุ้งสุก30 กรัม207
ลูกชิ้นหมูสุก30 กรัม200
นมสด240 มิลลิลิตร123
เนื้อหมูสุก30 กรัม107
ไข่ไก่สุก60 กรัม107
โยเกิร์ต150 มิลลิลิตร90
ปลาหมึกสุก30 กรัม76
เนื้อไก่สุก30 กรัม32
เนื้อปลาน้ำเค็มสุก30 กรัม28
เนื้อปลาน้ำจืดสุก30 กรัม17

*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดโปรตีนที่เรากิน อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการปรุงประกอบอาหาร

ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในผัก

ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในผัก อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น

ผักปริมาณปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม)
ผักกาดดอง1 ถ้วยตวง779
ผักบรรจุกระป๋อง1 ถ้วยตวง505
ผักคะน้าสุก50 กรัม86
ผักบุ้งจีนสุก50 กรัม70
ผักกาดขาวสุก60 กรัม46
กะหล่ำปลีสุก60 กรัม24
ถั่วฝักยาวสุก60 กรัม19
ถั่วงอกสุก60 กรัม11
มะเขือเทศ100 กรัม10
แตงกวา100 กรัม5

*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในผักที่เรากิน อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ สายพันธุ์ และการปรุงประกอบอาหาร

ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในผลไม้

ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในผลไม้ อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น

ผลไม้ปริมาณปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม)
ชมพู่250 กรัม65
แอปเปิล100 กรัม64
ส้ม150 กรัม50
มะม่วงสุก80 กรัม35
มะละกอสุก115 กรัม28
เงาะ85 กรัม19
ฝรั่ง120 กรัม18
แตงโม285 กรัม17
กล้วยหอม50 กรัม11
สับปะรด125 กรัม6

*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในผลไม้ที่เรากิน อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ สายพันธุ์ การจัดเตรียม การแปรรูป และการปรุงรสเพิ่ม

ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดไขมัน

ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดไขมัน อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น

อาหารหมวดไขมันปริมาณปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม)
เบคอนทอด10 กรัม168
สลัดครีม15 กรัม97
เนยสดเค็ม5 กรัม28
มายองเนส5 กรัม26
มาการีน5 กรัม21
ครีมเทียม3 กรัม6
กะทิ14 กรัม3
เนยสดจืด5 กรัม1
น้ำมันพืช5 กรัม0
น้ำมันหมู5 กรัม0

*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในอาหารหมวดไขมันที่เรากิน อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการปรุงประกอบอาหาร

ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในเบเกอรี่

ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในอาหารประเภทเบเกอรี่ อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น

(อาหารประเภทเบเกอรี่มักจะมีโซเดียมค่อนข้างสูง ซึ่งส่วนหนึ่งจะมาจากเบกกิ้งโซดาหรือผงฟู)

เบเกอรี่ปริมาณปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม)
เค้ก1 ชิ้น400
ขนมปังก้อน1 ชิ้น400
พาย1 ชิ้น240
โดนัท1 ชิ้น180
ขนมปังแผ่น1 แผ่น130

*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในอาหารประเภทเบเกอรี่ที่เรากิน อาจแตกต่างกันไปตามปริมาณ วัตถุดิบ และสูตรการทำ

ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในเครื่องดื่ม

ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในเครื่องดื่ม อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น

เครื่องดื่มปริมาณปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม)
น้ำมะเขือเทศ200 กรัม280
น้ำแครอท200 กรัม95
น้ำส้ม200 กรัม50
น้ำมะพร้าว200 กรัม28
น้ำเต้าหู้200 กรัม26
ชาเย็น100 กรัม25
น้ำอัดลม325 กรัม15
กาแฟ20 กรัม1

*ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในเครื่องดื่มที่เราดื่ม อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ปริมาณ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการปรุงรสเพิ่มโดยผู้ดื่ม

ตารางแสดงปริมาณโซเดียมในเมนูอาหารจานเดียว

ตัวอย่างข้อมูลปริมาณโซเดียมในเมนูอาหารจานเดียวต่างๆ อ้างอิงจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็อย่างเช่น

เมนูอาหารปริมาณปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม)
สุกี้น้ำ1 ชาม1,560
บะหมี่น้ำหมูแดง1 ชาม1,480
เส้นใหญ่เย็นตาโฟ1 ชาม1,417
ผัดซีอิ๊ว1 จาน1,352
ข้าวขาหมู1 จาน1,205
แกงส้มผักรวม1 ชาม1,130
ส้มตำอีสาน1 จาน1,006
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป1 ห่อ977
ผัดผักบุ้งไฟแดง1 จาน894
ข้าวหมูกรอบ1 จาน700
ปอเปี๊ยะสด1 จาน562
ข้าวไข่เจียว1 จาน362

*ข้อมูลในตารางจะเป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ปริมาณโซเดียมในเมนูอาหารที่เรากินอาจแตกต่างจากนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณ วัตถุดิบที่ใช้ สูตรการทำ รวมไปถึงการปรุงรสเพิ่มโดยผู้กินด้วย

อาหารที่มีโซเดียมสูงมีอะไรบ้าง

จากข้อมูลในตารางต่างๆ ที่ผ่านมา เราจะสามารถสรุปและจัดหมวดอาหารที่มีโซเดียมสูงได้ดังนี้

  • อาหารที่มีรสเค็มเด่นชัด เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ขนมขบเคี้ยว อาหารปรุงรสเค็ม ฯลฯ
  • อาหารที่มีรสจัด (รสเค็มในอาหารบางทีอาจโดนกลบโดยรสอื่น) เช่น ส้มตำ ยำ น้ำปลาหวาน แกงต่างๆ ที่มีรสจัด ฯลฯ
  • อาหารแปรรูป เช่น แฮม ไส้กรอก เบคอน ลูกชิ้น อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ฯลฯ
  • เครื่องปรุง เช่น เกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา ซอส น้ำจิ้ม ฯลฯ
  • เบเกอรี่ เช่น ขนมปัง พาย เค้ก โดนัท ฯลฯ

เทคนิควิธีลดโซเดียมที่ได้รับจากอาหาร

สำหรับเทคนิควิธีลดโซเดียมที่ได้รับจากอาหาร ก็จะมีรายละเอียดดังนี้

  1. เลี่ยงการกินอาหารรสเค็ม อาหารรสจัด อาหารแปรรูป เครื่องปรุง รวมถึงอาหารอื่นๆ ที่มีโซเดียมสูง
  2. จำกัดการกินเบเกอรี่ และอาหารอื่นที่ใช้เบกกิ้งโซดาหรือผงฟู (เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชา จะมีโซเดียมประมาณ 1,000-1,300 มิลลิกรัม ส่วนผงฟู 1 ช้อนชา จะมีโซเดียมประมาณ 300-500 มิลลิกรัม)
  3. จำกัดการใช้ผงชูรส เนื่องจากผงชูรสก็มีโซเดียมด้วยเช่นกัน (ผงชูรส 1 ช้อนชา จะมีโซเดียมประมาณ 400-800 มิลลิกรัม)
  4. หมั่นสังเกตฉลากโภชนาการ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณโซเดียมที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ และสามารถคุมโซเดียมได้ดีขึ้น
  5. พิจารณาทำอาหารกินเองให้บ่อยขึ้น เพราะจะสามารถควบคุมปริมาณโซเดียมได้ดีกว่า
  6. พิจารณาใช้เครื่องเทศและเครื่องปรุงอื่นที่ไม่มีโซเดียมให้มากขึ้น (ยกเว้นน้ำตาล) เพื่อช่วยเสริมกลิ่นรสให้กับอาหาร ลดการพึ่งพาเกลือ
  7. อาจพิจารณาใช้เครื่องปรุงสูตรลดโซเดียมแทน ยกเว้นกรณีของผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากเครื่องปรุงสูตรนี้จะมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

การดูแลความดันในทัศนะการแพทย์จีน

การแพทย์จีนนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมและปรับสมดุลร่างกาย ผ่านตำรับยาที่สกัดจากพืชสมุนไพรธรรมชาติหลายชนิด เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาความดันสูงที่ต้นเหตุ ซึ่งก็จะมีหลักการทำงานดังนี้

  • ทำความสะอาดหลอดเลือด สลายลิ่มเลือดและไขมัน ทำให้หลอดเลือดโล่งสะอาด จึงช่วยป้องกันและบำบัดโรคที่พบบ่อยในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ
  • บำรุงไต ให้หยิน-หยางในไตเกิดความสมดุล ไตจึงสามารถส่งหยินไปหล่อเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับร้อนรุ่มจนเกินไป ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของความดันสูง เมื่อตับอยู่ในสภาวะสมดุลก็จะมีการสร้างคอเลสเตอรอลในปริมาณที่เหมาะสม และในขณะเดียวกันเมื่อไตแข็งแรงขึ้น พลังชี่ที่เป็นแรงผลักดันของเลือดก็จะสมบูรณ์ขึ้น ระบบการไหลเวียนของเลือดจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ท่านที่สนใจดูแลความดันและสุขภาพหลอดเลือดตามทัศนะการแพทย์จีน ก็สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์แผนจีนและผู้เชี่ยวชาญได้ที่ไอดีไลน์ @enwei

จบแล้วกับคำถามที่ว่า อาหารที่มีโซเดียมสูงมีอะไรบ้าง พร้อมด้วยตารางข้อมูล ทางเอินเวย์หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะคะ

เอินเวย์ ศูนย์รวมยาสมุนไพรจีนระดับพรีเมี่ยมจากประเทศจีน ซึ่งอยู่เคียงข้างสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี ขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธรรมชาติในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์จีน เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดี

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top