หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  ไขปริศนา ภาวะเลือดคั่ง ล้างระบบหลอดเลือดก่อนจะตัน

ไขปริศนา ภาวะเลือดคั่ง ล้างระบบหลอดเลือดก่อนจะตัน

ไขปริศนา ภาวะเลือดคั่ง ล้างระบบหลอดเลือดก่อนจะตัน

เราไม่มั่นใจว่าคุณจะเข้าใจ ภาวะเลือดคั่ง ในทัศนะการแพทย์จีนมากน้อยเพียงใด แต่เรามั่นใจว่าคุณต้องรู้จักอาการต่างๆ ของภาวะเลือดคั่งแน่ และมิหนำซ้ำ มันอาจกำลังบั่นทอนสุขภาพของคุณอยู่ ทั้งที่คุณรู้ตัวและไม่รู้ตัว ลองทำแบบทดสอบเพื่อตรวจดูว่าคุณมีอาการของภาวะเลือดคั่งมากน้อยเพียงใด

สัญญาณเตือนของภาวะเลือดคั่ง

  • ผิวหนังหยาบกร้าน หมองคล้ำ ไม่มีเลือดฝาด
  • มีจุดด่างดำหรือฝ้าฮอร์โมนบนใบหน้า
  • ริมฝีปากหรือเล็บออกสีเขียวคล้ำ
  • ลิ้นออกสีม่วงคล้ำหรือมีจุดม่วงคล้ำหรือมีจุดเลือดออกเล็กๆ
  • เส้นเลือดดำใต้ลิ้นเป็นสีเขียวคล้ำหรือสีม่วงคล้ำ หรือขอดใหญ่
  • ขึ้นหรือมีเส้นเลือดฝอยแตกแขนงมากขึ้น หรือใต้ลิ้นมีตุ่มสีเขียวคล้ำหรือสีดำคล้ำ
  • ลิ้น 2 ข้างมีรอยกดทับของฟัน
  • เส้นเลือดใต้ผิวหนังบางจุดเห็นได้อย่างชัดเจน
  • มีรอยพรายย้ำตามร่างกายเป็นประจำ
  • มีจุดที่ปวดเป็นประจำตามร่างกาย
  • มีอาการเหน็บชาตามร่างกาย
  • มีอาการบวมหรือก้อนบวมตามร่างกาย
  • วิงเวียนศีรษะ ขี้หลงขี้ลืม
  • ใจสั่น นอนไม่หลับหรือฝันบ่อย
  • อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิด ขี้โมโห
  • อ่อนเพลียเรื้อรัง ขี้เกียจพูดคุย
  • รู้สึกร้อนวูบวาบในช่องอก
  • ประจำเดือนมาเป็นลิ่ม เป็นก้อนหรือเป็นสีดำคล้ำ
สัญญาณภาวะเลือดคั่ง

ยิ่งคุณมีอาการมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสดงว่าภาวะเลือดคั่งของคุณมีการเรื้อรังมานานเท่านั้น ซึ่งจะพัฒนาเป็นกลุ่มโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้น ตามระบบต่างๆ ของร่างกาย ถึงเวลาแล้วที่เราจะมาทำความรู้จักกับภาวะเลือดคั่งในทัศนะการแพทย์จีน เพื่อป้องกันและรักษาแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะสายเกินแก้

เลือดสำคัญไฉน

เป็นที่ทราบกันว่า เลือดคือของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ในเส้นเลือด เป็นวัตถุพื้นฐานหนึ่งของร่างกายที่จะค้ำจุนให้ชีวิตคนเราดำรงอยู่ได้ เลือดที่ไหลเวียนในเส้นเลือดนั้น ได้นำเอาออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงทุกๆ เซลล์ของร่างกาย และในขณะเดียวกันก็รับเอาคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียที่เกิดจากการทำงานของเซลล์กลับมา เพื่อขับออกจากร่างกาย การไหลเวียนของเลือดจะต้องอาศัยแรงผลักดัน ซึ่งก็คือพลังชี่ (气) ในการแพทย์จีนนั่นเอง

พลังชี่คืออะไร

พลังชี่คือพลังชีวิต ซึ่งเป็นพลังขนาดเล็กแต่ทรงอานุภาพและมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา พลังชี่มีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง การเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งทั้งมวลในจักรวาล ล้วนถูกผลักดันและควบคุมจากพลังชี่ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลหรือดินฟ้าอากาศ เป็นต้น ในร่างกายคนเราก็มีพลังชี่เป็นวัตถุพื้นฐานในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ร่างกายเจริญเติบโต ความสมบูรณ์และความเสื่อมถอยของพลังชี่ จึงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและการเสื่อมถอยของสุขภาพ พลังชี่ในร่างกายได้มาจาก 2 แหล่งด้วยกันดังนี้

  • พลังชี่ก่อนกำเนิด ทารกได้รับพลังชี่จากครรภ์มารดา แล้วมาเก็บสะสมไว้ในไต ซึ่งเป็นทุนเดิมของพลังชี่
  • พลังชี่หลังกำเนิด ได้จากอากาศบริสุทธิ์ที่ผ่านการหายใจของปอด รวมทั้งอาหารและน้ำที่ผ่านกระบวนการย่อยและการดูดซึมของกระเพาะอาหารและม้าม พลังชี่หลังกำเนิดจะไปหล่อเลี้ยงอวัยวะภายใน ส่วนที่เหลือจะถูกนำไปเก็บสะสมไว้ในไต เพื่อให้มีความเพียงพอเสมอ และจะถูกนำมาใช้อีกเมื่อร่างกายต้องการ พลังชี่หลังกำเนิดจึงเป็นวัตถุพื้นฐานที่จะช่วยให้ร่างกายมีการพัฒนาและดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

เลือดกับพลังชี่มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

เลือดกับพลังชี่ มีคุณสมบัติต่างกันคือ เลือดเป็นหยิน (阴) ชอบอยู่นิ่งและให้ความชุ่มชื้น ส่วนพลังชี่เป็นหยาง (阳) ชอบเคลื่อนไหวและให้ความอบอุ่น ความสัมพันธ์ของเลือดกับพลังชี่ แท้ที่จริงแล้วก็คือ ความสัมพันธ์ของหยิน-หยางในระบบการไหลเวียนของเลือดนั่นเอง ซึ่งจะต้องพึ่งพาอาศัย ควบคุม แปรเปลี่ยนและส่งผลกระทบซึ่งกันและกันดังนี้

  • เลือดกับพลังชี่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน กระบวนการเกิดและการสร้างเลือด ต้องอาศัยพลังชี่และการเคลื่อนไหวของพลังชี่ ถ้าพลังชี่สมบูรณ์ เลือดก็จะสร้างขึ้นมาได้อย่างเพียงพอ และในทางกลับกัน พลังชี่ก็ต้องอาศัยเลือดไปหล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้น การไหลเวียนของเลือดจะนำพาพลังชี่ไปสู่ทุกๆ เซลล์ของร่างกาย ถ้าเลือดพร่องลงพลังชี่ก็จะพร่องลงตามไปด้วย
  • พลังชี่ผลักดันการไหลเวียนของเลือด เลือดเป็นหยินชอบอยู่นิ่งไม่สามารถไหลเวียนได้เอง ต้องอาศัยแรงผลักดันจากพลังชี่ จึงมีคำกล่าวที่ว่า พลังวิ่งเลือดเดิน พลังนิ่งเลือดหยุด (气行血行,气滞血瘀) ถ้าพลังชี่สะดุดหรือถูกกีดขวาง เลือดก็จะไหลเวียนช้าลง มีความข้นและความหนืดมากผิดปกติ จนจับตัวเป็นลิ่มคั่งค้างอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย นานวันเข้าก็จะเกิดความร้อน มีการบวมแดง อักเสบและเจ็บปวดหรือเกิดอาการชา กล้ามเนื้อฝ่อลีบ รวมทั้งเกิดความผิดปกติทั้งขนาด รูปร่างและการทำงานของเส้นเลือด เช่น เส้นเลือดมีการหดเกร็ง ตะคริว ขยายตัวผิดรูปหรือขอดตัว เกล็ดเลือดและเซลล์เม็ดเลือดมีการจับตัวผิดปกติ เลือดมีความข้นและความหนืดมากขึ้น ดัชนีชี้วัดการเคลื่อนที่ของเลือดและแรงผลักดันที่เกี่ยวข้องทั้งหลายผิดปกติ เป็นต้น ส่งผลให้ระบบการไหลเวียนของเลือดทำงานผิดปกติมากขึ้น อวัยวะต่างๆ จึงได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ จนเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้
  • พลังชี่ควบคุมเลือดให้ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือด พลังชี่จะควบคุมเลือดให้ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือด ถ้าพลังชี่พร่องลง เลือดก็จะซึมออกไปนอกเส้นเลือด ทำให้อวัยวะที่อยู่บริเวณนั้นเกิดอาการเลือดคั่ง บวมน้ำหรือมีอาการเสียเลือดเรื้อรัง เช่น ริดสีดวงทวาร แผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น

ภาวะเลือดคั่งคืออะไร

การขาดความสมดุลของเลือดกับพลังชี่ ทำให้เซลล์ได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ ในขณะเดียวกัน คาร์บอนไดออกไซด์และของเสียที่เกิดจากการทำงานของเซลล์ ก็ไม่สามารถถูกนำออกมาได้ ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ จนเกิดโรคภัยไข้เจ็บ การแพทย์จีนได้รวมกลุ่มโรคที่เกิดจากการขาดความสมดุล ของเลือดกับพลังชี่ให้อยู่ในกลุ่มโรคภาวะเลือดคั่ง (血滞症)

ภาวะเลือดคั่งในการแพทย์จีน จึงมิได้หมายถึงการมีลิ่มเลือดในการแพทย์ตะวันตกเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงความผิดปกติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย อาทิ

  • ระบบการไหลเวียนเลือดขนาดเล็ก (Microcirculation) ทำงานผิดปกติ เช่น ความผิดปกติทั้งขนาด รูปร่างและการทำงานของเส้นเลือด เลือดมีการซึมออกไปนอกเส้นเลือด การไหลเวียนของเลือดช้าลง เกล็ดเลือดและเซลล์เม็ดเลือดมีการรวมตัวมากขึ้น พลาสมามีความหนืดผิดปกติ เป็นต้น
  • ดัชนีชี้วัดการเคลื่อนที่ของเลือดและแรงผลักดัน (Hemorheology) ผิดปกติ เช่น ดัชนีชี้วัดความข้น ความหนืด การรวมตัว การตกตะกอนของเซลล์เม็ดเลือด เป็นต้น
  • การรวมตัวของเกล็ดเลือดสูงผิดปกติ (Platelet Aggregation)
  • การพบลิ่มเลือดหรือโคเลสเตอรอลอุดตันเส้นเลือด โดยตรวจด้วยเครื่อง CT Scan หรือเครื่องMRI หรือการฉีดสี

ภาวะเลือดคั่งจะพัฒนาเป็นโรคอะไร

ภาวะเลือดคั่งในช่วงแรกเราอาจไม่รู้สึกมีอาการผิดปกติมากมายก็ได้ เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วร่างกายสามารถปรับตัวได้ระดับหนึ่ง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และที่สำคัญคือ อาการต่างๆ ที่เกิดจากภาวะเลือดคั่งนั้น มักจะเรื้อรังอย่างช้าๆ จนเราคุ้นเคยกับความผิดปกติของร่างกาย จนลืมไปแล้วว่าตอนเราปกติจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะส่งสัญญาณเตือนถึงเราก่อนตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

หากเราละเลยสัญญาณเตือนของร่างกายแล้ว นานวันเข้าภาวะเลือดคั่งอาจพัฒนาเป็นโรคใดโรคหนึ่งหรือหลายๆ โรคพร้อมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะเลือดคั่งนี้เรื้อรังมานานเพียงใด และส่งผลกระทบต่อระบบหรืออวัยวะส่วนใดในร่างกาย อาทิ

  • ภาวะเลือดคั่งในระบบประสาทและสมอง ปวดศีรษะเรื้อรัง โรคปวดประสาทหน้า ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต อัลไซเมอร์ โรคแทรกซ้อนจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ ฯลฯ
  • ภาวะเลือดคั่งในระบบทางเดินอาหาร หน้าซีด ซูบผอมจากการขาดสารอาหาร ท้องเสียหรือท้องผูกเป็นประจำ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง เป็นแผลที่กระเพาะอาหาร เป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ภาวะลำไส้อุดตัน อาการสะอึกเรื้อรัง ฯลฯ
  • ภาวะเลือดคั่งในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ มีอาการปวดเมื่อยหรือเหน็บชาตามร่างกาย กระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ โรคแทรกซ้อนจากการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อและกระดูก ฯลฯ
  • ภาวะเลือดคั่งในระบบทางเดินหายใจ แน่นหน้าอก หายใจถี่ ไอเรื้อรัง หอบหืด หลอดลมฝอยอักเสบเรื้อรัง ฯลฯ
  • ภาวะเลือดคั่งในระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้การหลั่งฮอร์โมนชนิดต่างๆ ในร่างกายผิดปกติ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นซีสต์หรือเนื้องอกในต่อมเต้านม เนื้องอกไขมันที่เต้านม ฯลฯ
  • ภาวะเลือดคั่งในหัวใจ ใจสั่น ปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส โรคกล้ามเนื้อหัวใจ หัวใจวาย ฯลฯ
  • ภาวะเลือดคั่งในตับ ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดแน่นชายโครง เบื่ออาหาร เครียด ขี้หงุดหงิด ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง ฯลฯ
  • ภาวะเลือดคั่งในไต ปวดหลังปวดเอว ปัสสาวะเป็นเลือด มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ บวมน้ำตามร่างกาย ฯลฯ
  • ภาวะเลือดคั่งของเส้นเลือด เส้นเลือดดำอักเสบจากลิ่มเลือด เส้นเลือดแดงขนาดกลางและขนาดเล็กที่ขา อุดตันจากลิ่มเลือด ฯลฯ
  • ภาวะเลือดคั่งในโรคทางนารีเวช ประจำเดือนผิดปกติ เป็นซีสต์หรือเนื้องอกที่รังไข่ มดลูก ช่องท้องหรือเต้านม เยื่อบุมดลูกงอกผิดที่ การตั้งครรภ์นอกมดลูก การมีบุตรยาก ฯลฯ
  • ภาวะเลือดคั่งในหู-ตา น้ำในหูไม่เท่ากัน ภาวะหูหนวกเฉียบพลัน หูอื้อ เส้นเลือดแดงในจอประสาทตาอุดตัน เส้นเลือดดำส่วนกลางในจอประสาทตาอุดตัน หรือเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต้อกระจกหรือต้อหิน เลือดออกในลูกตา ฯลฯ
  • ภาวะเลือดคั่งทางผิวหนัง อาการคันตามร่างกาย โรคไฟลามทุ่งเรื้อรังที่ขา แผลเปื่อยเรื้อรัง โรคสะเก็ดเงิน ลมพิษเรื้อรัง ฯลฯ

การแพทย์จีนจะบำบัดภาวะเลือดคั่งอย่างไร

การบำบัดภาวะเลือดคั่งด้วยยาสลายลิ่มเลือดเพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะเลือดคั่งได้หมายรวมถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบการไหลเวียนของเลือด และที่สำคัญคือลิ่มเลือดเป็นเพียงผลิตผลหรือปลายเหตุของภาวะเลือดคั่งเท่านั้น ต้นเหตุสำคัญอยู่ที่การขาดความสมดุลของเลือดกับพลังชี่ต่างหาก ดังนั้น การแพทย์จีนจึงนิยมใช้สมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณในการบำรุงเลือด บำรุงพลังชี่ ทะลวงเส้นลมปราณ สลายเลือดคั่ง กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และปรับความสมดุลของเลือดกับพลังชี่ เพื่อบำบัดภาวะเลือดคั่ง

จากการวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า ยาสมุนไพรจีนที่อยู่ในรูปแบบสารสกัดเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด เนื่องจากสามารถสกัดและควบคุมสารออกฤทธิ์ได้อย่างเข้มข้นและแม่นยำ ซึ่งมีกลไกออกฤทธิ์สำคัญ อาทิ

  • กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดแรงต้านทานและการแข็งตัวของเส้นเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือด เลือดจึงไหลเวียนได้สะดวกและไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้มากขึ้น
  • ปรับปรุงดัชนีชี้วัดการเคลื่อนที่ของเลือดและแรงผลักดันที่เกี่ยวข้องทั้งหลายให้กลับสู่เกณฑ์ปกติ จึงสามารถลดความข้นและความหนืดของเลือด ป้องกันและยั้บยั้งการก่อตัวของลิ่มเลือดได้อย่างเด่นชัด
  • ลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ เพิ่ม HDL โคเลสเตอรอลเพื่อนำ LDL โคเลสเตอรอลที่สะสมตามผนังเส้นเลือดไปที่ตับ เพื่อกำจัดออกจากร่างกาย
  • ปรับปรุงและส่งเสริมกระบวนการเมตาบอลิซึมโภชนาหารของเส้นประสาท พร้อมทั้งกระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ได้รับการบาดเจ็บ

ภาวะเลือดคั่งเกิดได้กับทุกคน แม้จะอันตรายแต่ก็รักษาไม่ยาก หากใส่ใจดูแลตนเองและเลือกใช้วิธีการรักษาที่ต้นเหตุ ที่สำคัญคือควรเลือกวิธีที่หลีกเลี่ยงผลข้างเคียง การเห็นผลล่าช้าและสารตกค้าง อาการและโรคต่างๆ ที่เกิดจากภาวะเลือดคั่งจึงค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด และเมื่อเลือกใช้วิธีการรักษาที่ต้นเหตุแล้ว ยังส่งเสริมให้สุขภาพโดยรวมก็จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

YouTube player

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

Festine

Festine

หัวใจ // ประสาทและสมอง // การไหลเวียนเลือด // อื่นๆ

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top