หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  ท่านั่งเล่น-นอนเล่นโทรศัพท์ที่ถูกต้อง เลี่ยงปวดคอ สายตาเสีย

ท่านั่งเล่น-นอนเล่นโทรศัพท์ที่ถูกต้อง เลี่ยงปวดคอ สายตาเสีย

ท่านั่งเล่น-นอนเล่นโทรศัพท์ที่ถูกต้อง เลี่ยงปวดคอ สายตาเสีย

พฤติกรรมเล่นโทรศัพท์มือถือนานๆ นับเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงสำหรับยุคนี้ ซึ่งก็ทำให้เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ปวดข้อนิ้ว ปวดข้อมือ ปวดคอบ่าไหล่ท้ายทอย กระดูกคอเสื่อม ออฟฟิศซินโดรม Text Neck Syndrome สายตาเสีย ฯลฯ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยส่งเสริมสุขภาพ ทางเอินเวย์ก็ขออาสานำข้อมูลท่านั่งเล่นนอนเล่นโทรศัพท์มือถือที่ถูกต้อง ตลอดจนข้อมูลสำคัญอื่นๆ มาให้ชมกันในบทความนี้เองค่ะ

ท่านั่งเล่นโทรศัพท์ที่ถูกต้อง

ท่านั่งเล่นโทรศัพท์มือถือที่เหมาะสม จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคและอาการผิดปกติต่างๆ ได้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อและข้อกระดูก ซึ่งก็จะมีรายละเอียดดังนี้

  • เลี่ยงก้มหน้าเกินพอดี ไม่ว่าจะยืนหรือนั่ง ก็ควรเลี่ยงการก้มหน้าเล่นโทรศัพท์มือถือด้วยมุมที่เกินกว่า 15 องศา นับจากระดับสายตาเมื่อมองตรง ซึ่งจะทำได้ด้วยการถือโทรศัพท์มือถือให้สูงขึ้น งานวิจัยปัจจุบันพบว่า ยิ่งก้มหน้ามาก คอของเราก็จะยิ่งต้องรับน้ำหนักมากขึ้นตาม อย่างในกรณีของการก้มหน้า 60 องศา คอก็จะต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากถึงประมาณ 27 กิโลกรัม
  • เลี่ยงใช้มือข้างเดียว เลี่ยงการเล่นโทรศัพท์มือถือด้วยมือข้างเดียว เพราะอาจมีผลเสียต่อข้อนิ้วโป้งและข้อมือ โดยเฉพาะในระยะยาว แนะนำให้ถือด้วยมือข้างหนึ่ง และสัมผัสหน้าจอด้วยมืออีกข้างแทน ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องพิมพ์ข้อความยาวๆ จะแนะนำให้ถือโทรศัพท์มือถือสองมือ หรือใช้คีย์บอร์ดเชื่อมต่อหากเป็นไปได้
  • เลี่ยงใช้นิ้วก้อยรองขอบ เลี่ยงการถือโทรศัพท์มือถือโดยใช้นิ้วก้อยรองขอบด้านล่าง เพราะอาจมีผลเสียต่อข้อนิ้วและข้อมือ โดยเฉพาะในระยะยาว ควรถือโดยให้นิ้วก้อยอยู่บริเวณเดียวกับนิ้วอื่นๆ
  • อย่ามองข้ามแขนและไหล่ การถือโทรศัพท์มือถือให้สูงขึ้น แม้จะมีผลดีต่อกล้ามเนื้อและกระดูกคอ แต่ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อแขนและไหล่ล้า ปัญหานี้อาจแก้ได้ด้วยการวางศอกไว้บนโต๊ะ ใช้มืออีกข้างรองศอกเมื่อไม่ได้สัมผัสจอ ใช้ขาตั้งโทรศัพท์มือถือ จำกัดระยะเวลาในการเล่น หรือจัดให้มีช่วงพักเป็นระยะเพื่อให้ได้พักกล้ามเนื้อ
  • เลือกเก้าอี้ที่เหมาะสม พยายามเลือกเก้าอี้มีพนักที่สามารถช่วยซัพพอร์ตหลังส่วนล่างได้ เพื่อลดผลกระทบต่อหลังที่เกิดจากการนั่งนานๆ
  • จัดท่านั่งให้เหมาะสม พยายามนั่งตัวตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ จัดให้เท้าอยู่กับพื้น เลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง เพื่อช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดกับข้อและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
  • จำกัดเวลา พักบ้าง ขยับบ้าง นอกจากที่กล่าวมาแล้ว การจำกัดระยะเวลานั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ จัดให้มีช่วงพัก รวมถึงมีการขยับร่างกายและปรับเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะ ก็นับว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน
YouTube player

ท่านอนเล่นโทรศัพท์ที่ถูกต้อง

การจัดท่านอนเล่นโทรศัพท์มือถือรวมถึงช่วงเวลาและสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสม จะมีส่วนช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดกับข้อ กล้ามเนื้อ สายตา และการนอนหลับได้ โดยจะมีข้อควรรู้ดังนี้

  • นอนหงายกระทบคอน้อยสุด การเล่นโทรศัพท์มือถือด้วยท่านอนหงายจะมีผลกระทบต่อกล้ามเนื้อและกระดูกคอน้อยกว่าท่านอนอื่นๆ เช่น ท่านอนคว่ำและนอนตะแคง
  • นอนคว่ำกระทบคอมากสุด การเล่นโทรศัพท์มือถือด้วยท่านอนคว่ำจะมีผลเสียต่อกล้ามเนื้อและกระดูกคอมากกว่าท่านอนอื่นๆ แนะนำว่าอาจจำกัดหรือเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์มือถือด้วยท่านอนนี้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาปวดคอบ่าไหล่ท้ายทอย
  • เล่นมือถือในที่มืดยิ่งทำร้ายตา การเล่นโทรศัพท์มือถือในที่มืดจะมีผลทำให้ตาล้ามากกว่าปกติ ซึ่งนักวิจัยก็เชื่อว่าอาจนำไปสู่ความผิดปกติของดวงตาได้หากทำบ่อยๆ โดยเฉพาะในระยะยาว
  • เล่นมือถือก่อนนอนอาจทำให้หลับไม่ดี การเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอนอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งก็คาดว่าเกิดจากแสงจอไปรบกวนการสร้างและหลั่งของฮอร์โมนเมลาโทนิน ทางที่ดีจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมนี้
  • จำกัดเวลา พักบ้าง ขยับบ้าง นอกจากที่กล่าวมาแล้ว การจำกัดระยะเวลานอนเล่นโทรศัพท์มือถือ จัดให้มีช่วงพัก รวมถึงมีการขยับร่างกายและปรับเปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะ ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ควรให้ความใส่ใจเช่นกัน

ข้อแนะนำอื่นๆ เกี่ยวกับการเล่นโทรศัพท์มือถือ

นอกจากประเด็นในด้านท่านั่งและท่านอนขณะเล่นโทรศัพท์มือถือแล้ว ก็ยังมีข้อแนะนำอื่นๆ ที่อาจมีส่วนช่วยลดผลกระทบจากการเล่นโทรศัพท์มือถือได้อีก ซึ่งก็ได้แก่

  • จำกัดเวลา พยายามจำกัดระยะเวลาเล่นโทรศัพท์มือถือไม่ให้มากเกินพอดี หากเป็นไปได้ ให้ใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ รวมถึงดูทีวีนอกการทำงานรวมกันไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน
  • พักสายตาเป็นระยะ พยายามพักสายตาเป็นระยะ โดยอาจทำตามกฎ 20-20-20 ซึ่งก็คือทุกๆ 20 นาทีของการมองจอ ให้พักสายตา 20 วินาที ด้วยการหันไปมองสิ่งที่อยู่ห่างออกไป 20 ฟุต (ประมาณ 6 เมตร)
  • ใช้คอมแทนเมื่อเหมาะสม กรณีที่ต้องทำงานผ่านอุปกรณ์เป็นระยะเวลานาน ให้พิจารณาใช้คอมพิวเตอร์แทนโทรศัพท์มือถือ (การใช้คอมพิวเตอร์ควรจัดให้มีระดับและระยะการมองที่เหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาปวดคอบ่าไหล่และปัญหาสายตา)
  • ปรับความสว่างของจอให้เหมาะสม พยายามปรับความสว่างของจอให้เหมาะสมกับแสงภายในห้องหรือพื้นที่แวดล้อม โดยอาจพิจารณาใช้ระบบปรับแสงจออัตโนมัติในโทรศัพท์มือถือ
  • เลี่ยงไม่ให้แดดส่องจอ เลี่ยงการเล่นโทรศัพท์มือถือในพื้นที่ที่มีแดดส่องโดนจอโดยตรง
  • ดูแลหน้าจอให้สะอาด หมั่นดูแลหน้าจอให้สะอาด เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน
  • ติดฟิล์ม Anti-Glare พิจารณาติดฟิล์ม Anti-Glare บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อช่วยลดแสงสะท้อน ซึ่งจะมีผลดีต่อสุขภาพดวงตา
  • ติดฟิล์มตัดแสงสีฟ้า พิจารณาติดฟิล์มตัดแสงสีฟ้า (Blue Light Cut Screen Protector) ซึ่งอาจมีส่วนช่วยลดผลกระทบจากแสงจอที่มีต่อสุขภาพดวงตาและการนอนหลับ
  • ซูมหรือหมุนจอเมื่อเหมาะสม ซูมหน้าจอหรือหมุนจอเป็นแนวนอนเมื่อเหมาะสม เพื่อช่วยลดการเพ่งสายตา
  • ใช้เสียงแทนสัมผัส พิจารณาใช้เทคโนโลยีสั่งการและป้อนข้อมูลด้วยเสียงให้มากขึ้น เพื่อช่วยลดการใช้กล้ามเนื้อและสายตา
  • เน้นฟังมากขึ้น พิจารณาใช้เทคโนโลยีการอ่านออกเสียง หรือเลือกรับชมเนื้อหาที่เน้นการฟังมากขึ้น เพื่อช่วยลดการใช้กล้ามเนื้อและสายตา

การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมยังเป็นสิ่งที่จำเป็น

ด้วยช่วงเวลาการแพร่หลายของโทรศัพท์มือถือที่ยังจำกัด ข้อมูลงานวิจัยในปัจจุบันจึงยังขาดความครอบคลุม โดยเฉพาะประเด็นในด้านผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว อย่างไรก็ตาม เพราะสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่ควรรอ ในระหว่างที่นักวิจัยกำลังศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่นั้น ทางที่ดี ทุกคนก็ควรใส่ใจลดผลกระทบด้วยองค์ความรู้ที่เรามีอยู่ในปัจจุบันให้ได้มากที่สุด

การบำบัดอาการปวดคอบ่าไหล่ในทัศนะการแพทย์จีน

ในทัศนะการแพทย์จีน อาการปวดคอบ่าไหล่ท้ายทอย ไม่ว่าจะเกิดจากกระดูกคอเสื่อม ออฟฟิศซินโดรม หรือสาเหตุทั่วไปอื่นๆ ก็จะสามารถดูแลบำบัดได้ด้วยวิธีธรรมชาติ ผ่านการใช้ตำรับยาสมุนไพรจีนสกัดที่มีหลักการออกฤทธิ์ดังนี้

  • ทะลวงเส้นเลือดและเส้นลมปราณบริเวณคอ บ่า ไหล่ ให้โล่งสะอาด
  • สลายภาวะเลือดคั่ง ช่วยให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และกระดูกคอ ได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ
  • ขจัดพิษลม พิษเย็น และพิษชื้น ที่สะสมอยู่ตามบริเวณคอ บ่า ไหล่ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของอาการปวดเมื่อยต้นคอ บ่า ไหล่ และท้ายทอย
  • ผลักดันการไหลเวียนของเลือด ช่วยให้เลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น อาการเวียนหัวปวดหัวจึงทุเลาลง
  • เสริมสร้างพลังลมปราณเพื่อลดภาวะเส้นลมปราณติดขัด

ท่านที่สนใจดูแลอาการปวดคอบ่าไหล่ท้ายทอยตามทัศนะการแพทย์จีน ก็สามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากเอินเวย์ได้โดยตรงที่เบอร์ 02-751-4399 หรือไอดีไลน์ @enwei

จบแล้วกับข้อมูลท่านั่งเล่นนอนเล่นโทรศัพท์มือถือที่ถูกต้อง รวมถึงข้อควรรู้อื่นๆ ทางเอินเวย์หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านนะคะ

เอินเวย์ ศูนย์รวมยาสมุนไพรจีนระดับพรีเมี่ยมจากประเทศจีน ซึ่งอยู่เคียงข้างสังคมไทยมานานกว่า 30 ปี ขอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกธรรมชาติในการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์จีน เพื่อให้ทุกท่านได้มีสุขภาพที่ดี

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top