หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  รู้ทันโรคกระดูกพรุน อาการ สาเหตุ และวิธีรักษาแบบแพทย์จีน

รู้ทันโรคกระดูกพรุน อาการ สาเหตุ และวิธีรักษาแบบแพทย์จีน

รู้ทันโรคกระดูกพรุน อาการ สาเหตุ และวิธีรักษาแบบแพทย์จีน

กระดูกพรุนคืออะไร

โครงสร้างกระดูกมี 2 ชั้น กระดูกชั้นนอกเป็นส่วนของกระดูกแข็ง ส่วนกระดูกชั้นในมีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ กระดูกทั้ง 2 ชั้นประกอบด้วยเซลล์สร้างกระดูกใหม่ (Osteoblast) และเซลล์สลายกระดูกเก่า (Osteoclast) กระบวนการของการสร้างกระดูกใหม่และการสลายกระดูกเก่าเกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เนื้อกระดูกส่วนที่หมดอายุถูกกำจัดออกไป เพื่อให้กระดูกที่สร้างขึ้นใหม่มาแทนที่

ในช่วงวัยเด็กถึงวัยหนุ่มสาว อัตราการสร้างกระดูกจะเร็วกว่าอัตราการสลายกระดูก แต่เมื่ออายุราว 30 ปีขึ้นไป อัตราการสลายกระดูกจะเร็วกว่าอัตราการสร้างกระดูก ซึ่งเป็นผลทำให้ปริมาณมวลกระดูกลดลงและโครงสร้างภายในของกระดูกถูกทำลาย ทำให้รูพรุนที่คล้ายฟองน้ำของกระดูกชั้นในมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้กระดูกบางลงและขาดความยืดหยุ่น …. เราเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะกระดูกพรุน” ภาวะกระดูกพรุนทำให้กระดูกเปราะบางและแตกหักง่าย ทั้งจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงหรือหกล้มเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะพบบ่อยในกระดูกบริเวณสะโพก ข้อมือและกระดูกสันหลัง

อาการของภาวะกระดูกพรุน

โครงสร้างกระดูก

โครงสร้างกายวิภาคของกระดูก

ภาวะกระดูกพรุนเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ผู้หญิงมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุนสูงกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า กว่า 60% ของผู้หญิงวัยทองต้องเผชิญกับภาวะกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ผู้หญิงควรตระหนัก ภาวะกระดูกพรุนไม่มีอาการชัดเจน ในระยะต้นอาจรู้สึกเพียงแค่ปวดเมื่อยตามร่างกายเท่านั้น จนกระทั่งเข้าใกล้วัย 60 จะเริ่มปรากฏอาการดังนี้

  • ปวดเกร็งกระดูกคอ
  • ไหล่งุ้มกว่าปกติ
  • ปวดหลังเรื้อรัง
  • กระดูกสะโพก ข้อมือหรือกระดูกสันหลังแตกหักง่าย
  • ฟันหลุดง่าย
  • ส่วนสูงลดลง
  • พุงยื่น หลังแอ่น

ภาวะกระดูกพรุน นอกจากจะทำให้ผู้สูงอายุปวดหลัง หลังค่อม ขยับลำตัวลำบาก กระดูกเปราะบางและแตกหักง่ายแล้ว ยังทำให้สมรรถภาพการทำงานของปอดลดลง ปริมาตรช่วงทรวงอกเล็กลง และผนังทรวงอกเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่เวลาหายใจ ทำให้หายใจไม่สะดวกและเหนื่อยง่าย รวมทั้งทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลงด้วย เนื่องจากปริมาตรช่วงท้องเล็กลง จึงทำให้รู้สึกอิ่มเร็วทั้งๆ ที่รับประทานอาหารได้ไม่มาก ส่งผลให้ร่างกายรับสารอาหารได้ไม่เพียงพอ รวมทั้งแคลเซียมที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกด้วย

คุณมีปัจจัยเสี่ยงกระดูกพรุนหรือไม่

ลองดูว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนมากน้อยเพียงใด เพียงคุณทำเครื่องหมาย หน้าหัวข้อที่ตรงกับคุณ

  • รูปร่างของคุณบอบบาง
  • ญาติผู้หญิงของคุณเคยกระดูกหัก
  • คุณเป็นสตรีวัยทอง
  • คุณหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติ
  • คุณผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างแล้ว
  • คุณอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักเป็นประจำ
  • คุณทานยาฮอร์โมนไทรอยด์หรือสเตอรอยด์เป็นประจำ
  • คุณทานยากันชักเป็นประจำ
  • คุณทานอาหารรสเค็มหรือหวานจัดเป็นประจำ
  • คุณทานอาหารที่ผสมสีหรือผงชูรสเป็นประจำ
  • คุณไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • คุณสูบบุหรี่
  • คุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • คุณไม่ค่อยทานอาหารประเภทนมหรืออาหารที่มีแคลเซียมสูง
  • คุณดื่มกาแฟมากกว่า 2 ถ้วยต่อวัน
  • คุณเป็นโรคเบาหวาน / โรคต่อมไทรอยด์ / โรคต่อมหมวกไต / โรคลำไส้ / โรคกระเพาะอาหาร / โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ / โรคไตเรื้อรัง / โรคโลหิตจาง / โรคปวดข้อเรื้อรัง ซึ่งโรคเหล่านี้จะทำให้มีการสลายกระดูกมากขึ้น
  • คุณเคยผ่าตัดต่อมไทรอยด์หรือผ่าตัดกระเพาะอาหาร
  • คุณเคยเข้าเฝือกเป็นเวลานาน
  • คุณเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

หากคุณทำเครื่องหมายมากเท่าใด ยิ่งแสดงว่าคุณมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนมากขึ้นเท่านั้น ควรเริ่มต้นบำรุงกระดูกตั้งแต่วันนี้ เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนในวันข้างหน้า

การป้องกันต้องเริ่มตั้งแต่วัยหนุ่มสาว

การบำรุงกระดูกเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนเมื่ออายุมากขึ้นนั้น จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ ถึงแม้ว่ามีอายุเพียง 20 ต้นๆ ก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากวัยหนุ่มสาวเป็นวัยที่มีการสะสมมวลกระดูกได้มากที่สุด ส่วนปริมาณมวลกระดูกที่สะสมได้และอัตราการสูญเสียมวลกระดูกหลังวัยผู้ใหญ่ของแต่ละคนไม่เท่ากัน การบำรุงกระดูกเพื่อสะสมปริมาณมวลกระดูกให้ได้มากที่สุดในวัยหนุ่มสาว และชะลอการสลายกระดูกหลังวัยผู้ใหญ่ ก็คงเช่นเดียวกับการสะสมเงินทอง ผู้ที่ไม่สะสมไว้ตั้งแต่หนุ่มสาวซึ่งเป็นวัยที่สามารถเก็บสะสมได้มาก แถมยังใช้เงินเปลืองพอสูงอายุก็คงไม่มีเหลือ แต่ถ้าสะสมไว้มากและใช้แต่พอควร ก็จะมีเหลือเก็บไม่ลำบากตอนแก่ ดังนั้น การเริ่มต้นบำรุงกระดูกได้เร็วเท่าใด ก็จะทำให้คุณสะสมปริมาณมวลกระดูกและชะลออัตราการสูญเสียมวลกระดูกได้มากเท่านั้น ย่อมจะช่วยให้คุณห่างไกลจากภาวะกระดูกพรุนเมื่อสูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาพเปรียบเทียบภาวะกระดูกพรุนและกระดูกปกติ

เสริมแคลเซียมรักษาภาวะกระดูกพรุนได้จริงหรือ

คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่า ถ้าไม่อยากมีภาวะกระดูกพรุนก็ต้องทานแคลเซียมเสริม และในขณะเดียวกันก็มีหลายๆ คนอดสงสัยไม่ได้ว่า ตนเองทำไมถึงเป็นภาวะกระดูกพรุนได้ทั้งๆ ที่มีการทานแคลเซียมเสริมอยู่เป็นประจำ จริงๆ แล้ว ภาวะกระดูกพรุนใช่ว่าจะเกิดจากการขาดแคลเซียมเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น กรรมพันธุ์ ระบบฮอร์โมน ระบบทางเดินอาหาร พฤติกรรมการดำรงชีวิต อุปนิสัยการรับประทานอาหาร ความเอาใจใส่ดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย เป็นต้น ดังนั้น การทานแคลเซียมเพียงอย่างเดียวเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนนั้นจึงอาจได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร

การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดภาวะกระดูกพรุนอย่างไร

การแพทย์จีนได้จัดภาวะกระดูกพรุน อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากภาวะไตอ่อนแอร่วมกับการพร่องลงของพลังชี่และเลือดภายในร่างกาย หรือที่เรียกว่า ชี่พร่อง-เลือดพร่อง นั่นเอง

  • ไตทำหน้าที่ควบคุมความแข็งแกร่งของกระดูก ไตควบคุมการสร้างวิตามินดี แคลเซียมและฟอสฟอรัส ไตจะเสื่อมลงตั้งแต่อายุ 30 ปี ซึ่งเป็นความเสื่อมตามวัยที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ส่วนจะเสื่อมเร็วช้าหรือมากน้อยอาจไม่เท่ากันในแต่ละคน จึงทำให้กระดูกไม่แข็งแรงหรือผุกร่อน รวมทั้งระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดก็อาจผิดปกติจนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
  • พลังชี่และเลือดที่สมบูรณ์ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ทำให้ร่างกายดูดซึม ลำเลียงและเก็บสะสมแคลเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระดูกจึงแข็งแรงขึ้น และลดภาวะกระดูกพรุนได้อย่างเด่นชัด

การแพทย์จีนจึงนิยมใช้วิธีบำรุงไตควบคู่กับบำรุงชี่-บำรุงเลือด เพื่อบำรุงกระดูกและลดภาวะกระดูกพรุน จากการวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า ยาสมุนไพรจีนที่อยู่ในรูปแบบสารสกัดเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากสามารถสกัดและควบคุมสารออกฤทธิ์ได้อย่างเข้มข้นและแม่นยำ โดยมีกลไกออกฤทธิ์สำคัญดังนี้

  • กระตุ้นให้ต่อมเพศและต่อมหมวกไตทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล
  • เพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและปริมาณมวลกระดูกได้อย่างเด่นชัด ส่งเสริมการสังเคราะห์แร่ธาตุในเนื้อกระดูก
  • กระตุ้นความแอ็คทีฟและเพิ่มจำนวนของเซลล์สร้างกระดูกใหม่ (Osteoblast) ลดความแอ็คทีฟและยับยั้งการก่อตัวของเซลล์สลายกระดูกเก่า (Osteoclast) ป้องกันการสลายเนื้อกระดูกมากเกินไป
  • แก้ไขภาวะดุลแคลเซียมเป็นลบ (Negative Ca Balance) ยับยั้งการสลายกระดูกมากเกินไป
  • ยับยั้งการลดลงของปริมาณมวลกระดูก กระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารดูดซึมแคลเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปรับแต่งโครงสร้างภายในของกระดูก (Micro-architecture) ช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น สามารถทนทานต่อแรงกระแทกที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของร่างกายได้อย่างดี

อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แขนขาอ่อนแรง เป็นตะคริวและอาการอื่นๆ ของภาวะกระดูกพรุน จะค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด

YouTube player

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

คาเนี่ยนแคป (Kanioncap)

คาเนี่ยนแคป

ข้อและกระดูก

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top