หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เสี่ยงหัวใจวาย รู้ทันสัญญาณเตือน

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เสี่ยงหัวใจวาย รู้ทันสัญญาณเตือน

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เสี่ยงหัวใจวาย รู้ทันสัญญาณเตือน

หลอดเลือดหัวใจตีบเกิดจากโคเลสเตอรอลไปสะสมตามผนังหลอดเลือด จนกลายเป็นคราบตะปุ่มตะป่ำทำให้หลอดเลือดหัวใจบริเวณนั้นตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ คราบไขมันที่อยู่ในหลอดเลือดนั้นมีลักษณะเหมือนแผล ร่างกายจึงพยายามปกปิดแผลด้วยการสร้าง “ฝา” แข็งๆ ขึ้นมาปิดไว้เหมือนสะเก็ดที่แผล หากคราบไขมันหยุดการเจริญเติบโตฝานี้ก็จะปิดได้สนิท ก้อนไขมันจึงมีโอกาสแตกออกน้อย แต่ถ้าคราบไขมันยังหนาตัวขึ้นเรื่อยๆ ฝาปิดนี้ก็จะบางลงและเปราะแตกได้ง่าย ทำให้อนุภาคของไขมันที่อยู่ข้างในกระจายสู่กระแสเลือด ซึ่งจะไปกระตุ้นกระบวนการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจอย่างรวดเร็วและส่งผลให้เกิดหัวใจพิบัติ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ทั้งชายและหญิง ในปัจจุบันพบว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในกลุ่มคนอายุ 35-45 ปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากต้องดำเนินชีวิตแบบเร่งด่วนและพึ่งพาอาหารสำเร็จรูปที่มีไขมันสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงไม่เป็นโรคของผู้สูงอายุอีกต่อไป

อาการของหลอดเลือดหัวใจตีบ

ในกรณีหลอดเลือดหัวใจยังตีบไม่มาก คุณอาจไม่รู้สึกอาการใดๆ อาการต่างๆ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบไปมากกว่า 75% อาทิ

  • เจ็บหน้าอก รู้สึกปวด แน่น จุกเสียดบริเวณหน้าอก ลำคอ ท้องส่วนบนหรือต้นแขน ในขณะเครียดหรือออกกำลัง เมื่อได้พักอาการมักจะดีขึ้น
  • หายใจไม่เต็มปอด อาการหายใจลำบากและเหนื่อยง่ายเกิดขึ้นได้ไม่ว่าในขณะออกแรง พักผ่อนหรือนอนหลับ
  • บวม อาการบวมบริเวณข้อเท้ามักเกิดขึ้นในเวลาค่ำ
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว แรงหรือผิดจังหวะ
  • อ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรง เหนื่อยง่ายผิดปกติ
  • เป็นลม หมดสติอย่างเฉียบพลันหรือรู้สึกศีรษะเบาหวิว

แต่อย่างไรก็ตาม จากสถิติทางคลินิกพบว่า หัวใจพิบัติมักเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า โดยเฉพาะในผู้หญิงเจ้าตัวไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นโรคหัวใจ แต่อยู่ๆ ก็ล้มลง หายใจไม่ออก ต้องนำส่งโรงพยาบาลหรืออาจเสียชีวิตทันที ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงโชคร้ายกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการเตือน จึงต้องมีการบำบัดและเอาใจใส่ตนเองอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่คุณเปลี่ยนแปลงไม่ได้

  • กรรมพันธุ์: ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ติดตัวมากับคุณตั้งแต่เกิด มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหลายอย่างที่จะทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • ประวัติครอบครัว: คุณอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น ถ้าหากว่าปู่ พ่อหรือพี่ชายของคุณเป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 55 ปี หรือว่ายาย แม่หรือพี่สาวคุณเป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 65 ปี
  • อายุและเพศ: ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง โดยเฉลี่ยผู้ชายจะเป็นโรคหัวใจเร็วกว่าผู้หญิง 10 ปี แต่เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ความเสี่ยงก็จะเท่ากับผู้ชาย
  • เชื้อชาติ: เชื้อชาติมีผลต่อความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและวิถีการดำเนินชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่คุณเปลี่ยนแปลงได้

วิถีการดำเนินชีวิตของคุณมีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบไม่น้อยทีเดียว ถึงแม้ว่าคุณอาจมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน จะทำให้คุณลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้

  • การสูบบุหรี่ ซึ่งจะทำให้ระดับ HDL โคเลสเตอรอล (ไขมันตัวที่ดี) ลดลงและทำลายหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง ผนังหลอดเลือดจะเปลี่ยนสภาพเป็นเหมือนกาวดักแมลงวัน ไขมันและสิ่งสกปรกอื่นๆ จึงมาเกาะติดได้มากขึ้น ดังนั้นการเลิกสูบบุรี่อาจสำคัญกว่าการบำบัดภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงก็ได้
  • ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งมีผลร้ายต่อร่างกายโดยเฉพาะหัวใจ ผู้ที่ชอบนั่งกับที่มีโอกาสเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำเกือบ 2 เท่า การออกกำลังกายช่วยเพิ่ม HDL โคเลสเตอรอล และลด LDL โคเลสเตอรอล (ไขมันตัวที่ไม่ดี) ทำให้ร่างกายตอบสนองอินซูลินดีขึ้นและลดความดันโลหิต ถ้าคุณมีโคเลสเตอรอลสูงหรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของโรคหัวใจ การออกกำลังกายช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรงและมีสุขภาพดีขึ้น
  • การรับประทานอาหาร แม้ว่าคุณมีโคเลสเตอรอลปกติก็ตาม แต่การรับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืชและเส้นใยน้อยเกินไป จะทำให้คุณมีโอกาสเกิดโคเลสเตอรอลสูงและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้
  • การดื่มกาแฟ สำหรับคนทั่วไปแล้ว การดื่มกาแฟจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าคุณเป็นคอกาแฟที่มีการดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วหรือมากกว่า จะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลสูงขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  • ท้องผูกเป็นประจำ คุณอย่าเพิ่งงงว่าท้องผูกจะไปเกี่ยวอะไรกับระดับโคเลสเตอรอลและโรคหัวใจ คุณอาจต้องทำความรู้จักกับที่มาและการทำงานของน้ำดีเสียก่อนคือ ตับมีการขับโคเลสเตอรอลส่วนเกิน แคลเซียมส่วนเกิน ไขมันที่ผ่านการออกซิเดชั่น สารพิษและของเสียไปที่ถุงน้ำดี จากนั้น ถุงน้ำดีจะสังเคราะห์ของเสียเหล่านี้ให้กลายเป็นน้ำดี และส่งผ่านท่อน้ำดีไปยังลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อย่อยน้ำมันและไขมันที่เรารับประทานเข้าไปให้เป็นกรดไขมัน จากนั้นน้ำดีก็จะไหลเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ช่วยหล่อลื่นผนังลำไส้ใหญ่ กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่และช่วยการขับถ่าย แล้วน้ำดีเหล่านี้ก็จะถูกขับออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระ ถ้าคุณท้องผูกน้ำดีก็จะตกค้างในลำไส้นานเกินไปและถูกดูดซึมกลับไปยังตับ ผลที่ตามมาคือเพิ่มภาระให้ตับและทำให้โคเลสเตอรอลสูงขึ้น
  • น้ำหนักตัวของคุณ การมีน้ำหนักตัวเกินจะทำให้ LDL โคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นและ HDL โคเลสเตอรอลลดลง โดยเฉพาะไขมันบริเวณรอบเอว (เกิน 40 นิ้วในผู้ชายและ 35 นิ้วในผู้หญิง) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ความเครียด ความเครียดมีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทซิมพาเธติก ส่งผลให้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบทวีความรุนแรงขึ้น และเร่งให้เกิดการทำลายชั้นเซลล์ของผนังหลอดเลือดแดง
ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ข้อจำกัดของการทำบอลลูนและบายพาส

เมื่อเรามีอาการแล้วไปพบแพทย์มักจะได้รับคำแนะนำให้ฉีดสี หากพบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบอาจทำบอลลูนขยายหลอดเลือด หรือในกรณีที่มีอาการตีบมากอาจต้องผ่าตัดหัวใจทำบายพาส การทำบอลลูนคือการสอดท่อที่มีบอลลูนเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เพื่อเบียดให้ไขมันแบนลงไปติดที่ผนังหลอดเลือด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือไขมันในหลอดเลือดยังมีมากเท่าเดิมเพียงแต่ถูกเบียดให้แบนลงเท่านั้น หลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยจึงมักจะกลับมาตีบใหม่ภายใน 3-6 เดือนหลังการทำบอลลูน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือโรคไต โอกาสกลับมาตีบใหม่ก็จะเร็วขึ้น

ภาพแสดงการทำบอลลูนภายในหลอดเลือดหัวใจ

ส่วนการทำบายพาสหัวใจนั้นแก้ไขได้เฉพาะหลอดเลือดหัวใจเท่านั้น สำหรับหลอดเลือดส่วนอื่นๆ ของร่างกายก็ยังคงสภาพตีบเช่นเดิม เนื่องจากอาการตีบเกิดขึ้นได้ในหลอดเลือดทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ตับ ไต และอวัยวะอื่นๆ ก็มักจะมีอาการตีบเช่นกัน หากอาการตีบเกิดขึ้นในหลอดเลือดสมองก็จะทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ขี้หลงขี้ลืม แขนขาอ่อนแรง ใบหน้าบิดเบี้ยว ลิ้นชา พูดไม่ชัด ตามัวและเดินเซเหมือนคนเมาเหล้า หากอาการตีบเกิดขึ้นในหลอดเลือดที่แขนขาก็จะทำให้แขนขาเหน็บชา หรือในผู้ป่วยเบาหวานอาจต้องตัดนิ้วเท้าหรือตัดขาในที่สุด

วิธีการบำบัดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของทัศนะการแพทย์จีน

สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลักการวินิจฉัยและบำบัดอันสำคัญที่การแพทย์จีนยึดถือมาตลอดคือ ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด (通则不痛, 痛则不通) ไม่โล่งหมายถึงหลอดเลือดและเส้นลมปราณมีการติดขัดและสะดุด ทำให้เลือดและพลังชี่ไหลเวียนไม่สะดวกจนเกิดอาการปวดหรือเจ็บนั่นเอง การแพทย์จีนจึงนิยมใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการทำความสะอาดหลอดเลือดและเส้นลมปราณ เพื่อบำบัดอาการต่างๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และเป็นที่น่าสนใจคือวิธีการบำบัดนี้ยังเหมาะกับผู้ที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไขมันพอกตับ ฯลฯ เนื่องจากโรคเหล่านี้ล้วนเกิดจากสาเหตุที่คล้ายคลึงกันและมีความสัมพันธ์เป็นลูกโซ่ ทั้งยังเพิ่มความรุนแรงซึ่งกันและกัน เรามักจะพบโรคดังกล่าวอยู่ในคนๆ เดียวกัน จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมการแพทย์จีนจึงใช้หลักการและวิธีบำบัดที่คล้ายๆ กันกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ทั้งๆ ที่แต่ละโรคดูจะไม่เหมือนกันในมุมมองของการแพทย์ตะวันตกก็ตาม

การวิจัยสมุนไพรจีนในทัศนะการแพทย์ปัจจุบัน

จากการวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า ยาสมุนไพรจีนที่อยู่ในรูปแบบของสารสกัดเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เนื่องจากสามารถสกัดและควบคุมสารออกฤทธิ์ได้อย่างเข้มข้นและแม่นยำ โดยมีกลไกออกฤทธิ์สำคัญดังนี้

  • ปรับความสมดุลของร่างกาย โดยเฉพาะความสมดุลของตับ ทำให้ตับมีการผลิตโคเลสเตอรอลในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไป เพื่อขจัดต้นเหตุสำคัญของโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ
  • ฟื้นฟูการทำงานของตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินในปริมาณที่เหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริมให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคเบาหวานจึงค่อยๆ ทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด
  • ลดภาวะการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มความสามารถในการบีบตัวและลดความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ จึงบรรเทาอาการปวด แน่น จุกเสียดหน้าอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ลดความข้นของโคเลสเตอรอลและระดับไตรกลีเซอไรด์ เพิ่ม HDL โคเลสเตอรอลเพื่อนำ LDL โคเลสเตอรอลที่สะสมตามผนังหลอดเลือดกลับไปที่ตับเพื่อขจัดออกจากร่างกาย
  • เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด สลายและยับยั้งการก่อตัวของลิ่มเลือด ลดความเหนียวหนืดของเซลล์เม็ดเลือด จึงบำบัดความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ สมองและอวัยวะต่างๆ ได้ดีขึ้น

อาการปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก หายใจไม่สะดวก มึนศีรษะหรืออาการแขนขาอ่อนแรง ลิ้นชา พูดไม่ชัด ตามัว กลืนอาหารลำบาก หรือเดินเซเหมือนคนเมาเหล้า จึงค่อยๆ ทุเลาลง หรืออาจหายไปได้ในที่สุด

YouTube player
ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top