หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน เบาใจได้ ให้เอินเวย์ดูแลคุณ

โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน เบาใจได้ ให้เอินเวย์ดูแลคุณ

โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน เบาใจได้ ให้เอินเวย์ดูแลคุณ

เบาหวาน เป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่คุกคามชีวิตคนไทย ซึ่งในปัจจุบันคนไทยวัย 35 ปีขึ้นไป มีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานประมาณ 2.4 ล้านคน ผู้ที่เข้ารับการรักษากว่าครึ่ง ไม่เคยรู้มาก่อนว่าป่วยเป็นโรคนี้ ลองทำแบบทดสอบเพื่อตรวจดูว่า คุณมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานมากน้อยเพียงใด

คุณเสี่ยงต่อโรคเบาหวานไหม

  • คุณอายุมากกว่า 35 ปี
  • มีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน
  • ชอบกินของหวานๆ มันๆ
  • น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายน้อย
  • เป็นแผลแล้วหายยาก
  • กระหายน้ำมาก
  • ปัสสาวะบ่อย
  • อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ตาพร่า มองไม่ชัด
  • ความดันโลหิตสูง
  • ปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก
  • หิวบ่อย ทานจุ
  • ชาตามปลายมือปลายเท้า

หากคุณตอบว่าใช่เป็นส่วนใหญ่ แสดงว่าคุณมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จำเป็นต้องรีบป้องกันและรักษา ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

เบาหวานคืออะไร

เบาหวานเกิดจาก ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต รวมถึงโปรตีนและไขมันบางส่วนได้อย่างเหมาะสม ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น หัวใจวาย ตาบอด ไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคติดเชื้อ เป็นต้น เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้

  • เบาหวานชนิดที่ 1 (เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน) ซึ่งเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ แม้ว่าเบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่ จะพบในเด็กและวัยรุ่น แต่ก็อาจพบได้ในทุกกลุ่มอายุ ประมาณ 10% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เป็นเบาหวานชนิดที่ 1
  • เบาหวานชนิดที่ 2 (เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน) ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม อายุ น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นต้น ตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ ส่วนใหญ่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ แต่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

โรคแทรกซ้อนของเบาหวานมีอะไรบ้าง

  • ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตาเสื่อม เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา ทำให้ตามัวลงเรื่อยๆ หรือมองเห็นจุดดำลอยไปลอยมา และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
  • ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ซึ่งมักจะทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย และอาจลุกลามจนเท้าเน่า กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ กระเพาะอาหารไม่ทำงาน มีอาการจุกเสียดคล้ายอาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเดินโดยเฉพาะท้องเดินตอนกลางคืน ผู้ป่วยชายมักมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วย ผู้ป่วยบางรายมีอาการวิงเวียนศีรษะ เนื่องจากมีภาวะความดันตกในท่ายืน
  • ไต มักเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบค่อนข้างบ่อย
  • ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวาน ถ้าหลอดเลือดแดงที่เท้าแข็งและตีบ เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ อาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริวหรือปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยาก หรือนิ้วเท้าเกิดนื้อตายเน่า
  • ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เช่น วัณโรคปอด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ กลาก โรคจากเชื้อรา เป็นฝีหรือพุพองบ่อย นิ้วเท้าหรือช่องคลอดอักเสบ เป็นต้น
  • แผลที่เท้า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวาน มักมีภาวะปลายประสาทอักเสบและภาวะขาดเลือด ทำให้เท้าชาเกิดแผลได้ง่ายและหายยาก หรือเป็นเนื้อตายเน่า บางครั้งจำเป็นต้องตัดนิ้วเท้าหรือตัดเท้า ทำให้เกิดภาวะพิการได้

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานมักเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

ผู้ป่วยเบาหวาน มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอายุที่น้อยกว่า แต่มีความรุนแรงที่มากกว่า เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น จะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงทั่วทั้งร่างกาย เกิดความผิดปกติและเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้จะเร่งให้โครงสร้างและสภาพของหลอดเลือด เกิดความผิดปกติมากขึ้นและเร็วขึ้น หลอดเลือดหัวใจจึงเกิดการอักเสบ ทำให้คราบไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดมีการแตกออก และเกิดลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จึงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยเบาหวาน

อาการโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานจะแตกต่างจากผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไปอย่างไร

สำหรับอาการโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยเบาหวาน อาการเจ็บหน้าอกมักจะไม่ชัดเจนหรือไม่มีเลย เนื่องจากประสาทรับความรู้สึกเสื่อมสภาพลง จึงมักจะมีแค่อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ แน่น จุกเสียดหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย ปวดร้าวที่ไหล่ คอหรือต้นแขน วิงเวียนศีรษะ ตัวเย็น เหงื่อออก ใจสั่นรู้สึกคล้ายจะเป็นลม อาการเหล่านี้ อาจมีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้

เบาหวานในเด็กอ้วน…ปัญหาที่ไม่อาจมองข้ามได้

พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ผิดๆ การดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ และขาดการออกกำลังกาย ทำให้จำนวนเด็กที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน (เด็กอ้วน) เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เด็กเป็นเบาหวานมากขี้น ทั้งนี้เนื่องจากอาหารหวาน มันและขาดการออกกำลังกาย นอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะอ้วนแล้ว ยังทำให้เซลล์ไขมันที่สะสมในร่างกาย สร้างสารต่อต้านการทำงานของอินซูลิน พร้อมทั้งทำให้ระดับของโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์และความดันโลหิตสูงขึ้นด้วย เด็กที่เป็นเบาหวานมีอาการเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เช่น หิวบ่อย รับประทานเก่ง ผอมลง อ่อนเพลีย ปัสสาวะมีมดขึ้น เป็นต้น แต่เนื่องจากเด็กมีสุขภาพแข็งแรงกว่า จึงมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าผู้ใหญ่ ทำให้ผู้ปกครองมักจะละเลย และมองข้ามปัญหาเบาหวานในวัยเด็กของลูกหลานไป

การแพทย์จีนกับการค้นพบโรคเบาหวาน

สำหรับโรคเบาหวาน บรรดาตำราการแพทย์ของประเทศที่มีอารยธรรมเก่าแก่ของโลก ต่างมีการบันทึกถึงโรคนี้ นายแพทย์ฉินฉวน (Chen Chuan ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ .643) ซึ่งเป็นแพทย์จีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยราชวงศ์ถัง ได้ค้นพบลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยเบาหวานคือ ปัสสาวะมีรสหวาน โดยบันทึกไว้ว่า คนที่มีอาการกระหายและดื่มน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยครั้ง ปัสสาวะขุ่นข้นและมีรสหวาน อาการเหล่านี้เป็นโรคที่มีน้ำตาลรั่วในปัสสาวะ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์ ที่มีการสรุปอาการของโรคเบาหวานได้อย่างละเอียดและชัดเจน หลังจากนั้นอีกพันกว่าปี นายแพทย์โทมัส วิลเลี่ยม ของอังกฤษ จึงได้มีรายงานลักษณะเดียวกันออกมา และผ่านไปอีกร้อยกว่าปีเศษ แม็คฮิว โดโบสัน จึงได้พิสูจน์ว่า ในปัสสาวะของผู้ป่วยเบาหวานมีน้ำตาล ซึ่งก็ล่วงเข้าไปในปี ค.ศ.1776 แล้ว ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับมูลเหตุและอาการของโรคเบาหวาน มาเป็นเวลาอันเนิ่นนาน ทำให้การแพทย์จีนมีการค้นคว้าและพัฒนาวิธีการรักษา ที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุโรคเบาหวานในทัศนะการแพทย์จีน

การแพทย์จีนได้จัดโรคเบาหวาน ให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากภาวะไตอ่อนแอ การเกิดและการพัฒนาของโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสารจิง (精) ในไต ซึ่งเป็นสารจำเป็นในการดำรงชีวิตและกักเก็บไว้ที่ไต โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้

  • สารจิงที่มีมาแต่กำเนิด ซึ่งเป็นสารที่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่ ตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์ พ่อแม่มีปัญหาสุขภาพ ก็จะถ่ายทอดสารจิงที่ไม่สมบูรณ์ ให้แก่ลูก ทำให้ไตของลูกอ่อนแอตั้งแต่กำเนิด
  • สารจิงภายหลังกำเนิด ซึ่งเป็นสารที่ได้รับจากอาหารการกิน โดยม้ามและกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ลำเลียงมาเติมเพื่อไม่ให้สารจิงพร่องลง

ในทัศนะการแพทย์จีน ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก สารจิงที่มีมาแต่กำเนิดไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ไตอ่อนแอตั้งแต่กำเนิด จากผลการศึกษาทางคลินิกในปัจจุบัน ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า โรคเบาหวานส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม นอกจากนี้ พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่ควบคุมอาหารการกิน มีเพศสัมพันธ์มากเกินไป ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การทานยาเคมีเป็นประจำ เป็นต้น ก็จะส่งผลให้สารจิงภายหลังกำเนิด พร่องลงอย่างรวดเร็วและก่อนเวลาอันควร ทำให้ไตเสื่อมมากขึ้นและเร็วขึ้น เพิ่มความเสี่ยงหรือความรุนแรงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

วิธีการบำบัดแบบองค์รวมของการแพทย์จีน

เป็นที่ทราบกันว่า โรคเบาหวานมีโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง ที่ทำให้เกิดภาวะพิการและมีอันตรายถึงชีวิต การบำบัดโรคเบาหวานของการแพทย์จีน จึงไม่ได้หยุดอยู่แค่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่ยังเน้นความสำคัญในการรักษาต้นเหตุ และโรคแทรกซ้อนของเบาหวานไปพร้อมๆ กันดังนี้

  • ทำความสะอาดและทะลวงหลอดเลือด สลายลิ่มเลือดและไขมัน ทำให้หลอดเลือดโล่งสะอาด เพื่อป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
  • ปรับความสมดุลของร่างกาย โดยเฉพาะความสมดุลของตับและตับอ่อน ทำให้ร่างกายมีการสร้างโคเลสเตอรอลและอินซูลิน ในปริมาณที่เหมาะสม เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะสมดุล ก็จะตอบสนองต่ออินซูลินได้เป็นอย่างดี จึงควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • บำรุงไต เพื่อขจัดต้นเหตุของโรคเบาหวาน เนื่องจากไตอ่อนแอทำให้เกิดโรคเบาหวาน และโรคเบาหวานก็จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น จนเกิดภาวะไตวาย ซึ่งถือเป็นวงจรที่ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน การบำรุงไตจึงมีบทบาทสำคัญในการบำบัดโรคเบาหวาน และเสริมสร้างสุขภาพร่างกายโดยรวมให้แข็งแรงขึ้น

เมื่อใช้วิธีบำบัดรักษาแบบองค์รวม ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในชีวิตประจำวันให้ถูกสุขลักษณะ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงแล้ว อาการต่างๆ ของเบาหวาน ตลอดจนโรคแทรกซ้อนต่างๆ จึงค่อยๆ ทุเลาลง

YouTube player
YouTube player

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

Mairacap

Mairacap

เบาหวาน และโรคในต่อมไร้ท่อ

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top