หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  หูอื้อ หูมีเสียงจั๊กจั่น อย่ามองข้าม รู้ให้ลึก แก้ให้หาย เอินเวย์ช่วยคุณได้

หูอื้อ หูมีเสียงจั๊กจั่น อย่ามองข้าม รู้ให้ลึก แก้ให้หาย เอินเวย์ช่วยคุณได้

หูอื้อ หูมีเสียงจั๊กจั่น อย่ามองข้าม รู้ให้ลึก แก้ให้หาย เอินเวย์ช่วยคุณได้

เสียงจั๊กจั่นและเสียงดังที่ผสมปนเปกันภายในหูนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นเสียงของเลือดที่ไหลผ่านหลอดเลือดบริเวณหู โดยปรากฏการณ์นี้มักจะเกิดขึ้นจากระบบการไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลายๆ สาเหตุ หูอื้อเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยมีสมรรถภาพในการฟังเสื่อมถอยลง พร้อมทั้งมีอาการกระวนกระวายใจ นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ หากท่านใดมีอาการหูอื้อเรื้อรัง โดยเฉพาะอาการหูดับ วิงเวียนศีรษะและปวดศีรษะร่วมด้วยแล้ว ยิ่งต้องเพิ่มความเอาใจใส่และรักษาแต่เนิ่นๆ

หูอื้อมิได้เกิดจากไตอ่อนแอเพียงอย่างเดียว

นับแต่โบราณ การแพทย์จีนมีคำกล่าวที่ว่า ไตควบคุมหู ซึ่งหมายความว่า ไตสมบูรณ์จะทำให้หู-ตาแจ่มชัด หากไตทำงานหนักเกินไป จะทำลายเลือดและพลังชี่ในร่างกาย พร้อมทั้งอาจทำให้หูหนวกไปด้วย ผู้ที่เข้าสู่วัยกลางคนมักจะมีอาการหูอื้อเกือบทุกราย เหมือนมีเสียงพายุ จั๊กจั่น หรือเสียงโฉ่งฉ่างอยู่ในหู ซึ่งล้วนเกิดจากไตอ่อนแอแทบทั้งนั้น ส่วนการแพทย์ปัจจุบัน ก็ได้พบว่ามีผู้ป่วยบางรายหลังจากใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว มีผลทำลายสมรรถภาพการทำงานของไต ขณะเดียวกันสมรรถภาพการฟังของหูก็ถูกทำลายไปด้วย ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ไตควบคุมหูได้

แต่อย่างไรก็ตาม หากเข้าใจว่าอาการหูอื้อทั้งหมด เกิดจากภาวะไตอ่อนแอนั้นกลับไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เนื่องจากหูยังมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับอวัยวะอื่นๆ และเส้นลมปราณเป็นอย่างมาก ฉะนั้น ความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย ตลอดจนการขาดความสมดุลของเลือดและพลังชี่ ล้วนมีผลทำให้เกิดอาการหูอื้อได้ทั้งสิ้น นอกจากภาวะไตอ่อนแอจะทำให้เกิดอาการหูอื้อแล้ว ภาวะหยาง (ความร้อน) ในตับมากเกินไป ภาวะเลือดคั่ง ภาวะชี่-เลือดพร่อง ภาวะลมพิษลมร้อน จากสิ่งแวดล้อมคุกคามร่างกาย ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการหูอื้อได้ทั้งนั้น

หูอื้อ หูมีเสียงจั๊กจั่น เกิดจากสาเหตุอะไร

หูอื้อ…ต้องรักษาให้ถูกวิธี   

โดยทั่วไปหูอื้อที่เกิดจากภาวะหยาง (ความร้อน) ในตับมากเกินไป ภาวะเลือดคั่ง ภาวะพิษลมร้อน จากสิ่งแวดล้อมคุกคามร่างกายนั้น จะมีอาการที่เหมือนๆ กันคือ กำเริบเร็ว เสียงอื้อในหูค่อนข้างดัง ระดับเสียงทุ้มต่ำ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีรูปร่างสูงใหญ่ เสียงพูดดังกังวาน

ส่วนหูอื้อที่เกิดจากภาวะไตอ่อนแอและภาวะชี่-เลือดพร่องนั้น ผู้ป่วยมักมีอาการที่เหมือนๆ กันคือ กำเริบช้า และหากร่างกายเหนื่อยล้า อาการหูอื้อก็จะกำเริบรุนแรงขึ้น อาการหูอื้อของผู้ป่วยสูงวัยและผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ มักจะเกิดจากภาวะไตอ่อนแอหรือภาวะชี่-เลือดพร่อง

  • หูอื้อจากภาวะไตอ่อนแอ ซึ่งระยะเวลาของโรคจะยาวนานที่สุด เนื่องจากไตจะเสื่อมลงตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป ในหูของผู้ป่วยเหมือนมีเสียงจั๊กจั่นร้อง โดยปกติแล้วเสียงจะไม่ดังกังวานนัก แต่มักจะมีอาการเอวและหัวเข่าอ่อนแรง ร่างกายอ่อนเพลียเรื้อรัง ตาลาย ตาแห้ง ปัสสาวะบ่อย เหงื่อออกขณะนอนหลับ นอนไม่หลับ สมองล้า ฯลฯ ส่วนหลักเกณฑ์การรักษา จะยึดเอาการบำรุงไตเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเป็นหลัก
  • หูอื้อจากภาวะหยาง (ความร้อน) ในตับมากเกินไป ซึ่งมักจะเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน เสียงอื้อในหูค่อนข้างดัง และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงของสภาพอารมณ์ อาการมักจะกำเริบรุนแรงขึ้นหากมีอารมณ์โกรธ นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีอาการปากขม คอแห้ง ใจสั่น เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ กระวนกระวาย โกรธง่าย รู้สึกร้อนในช่องอก ฝ่ามือ-ฝ่าเท้าร้อน ปวดบั้นเอว ฝันร้าย เหงื่อออกที่ฝ่ามือฝ่าเท้า ใบหน้าแดงก่ำ สีลิ้นแดงหรือมีฝ้าเหลือง ฯลฯ และผู้ป่วยมักจะมีภาวะเลือดเหนียวหนืดและไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย หากปล่อยไว้เรื้อรัง ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมองตีบก็จะถามหา ส่วนหลักเกณฑ์การรักษา จะยึดเอาการระบายพลังชี่ที่อั้นอยู่ในตับเป็นหลัก เพื่อขจัดภาวะหยางในตับมากเกินไป
  • หูอื้อจากภาวะชี่-เลือดพร่อง ซึ่งระยะเวลาของโรคจะค่อนข้างยาวนาน ส่วนใหญ่มีอาการจิตใจเหม่อลอย อ่อนล้า ไม่มีเรี่ยวแรง เวียนศีรษะ ตาพร่า เหงื่อออกในขณะนอนหลับ รู้สึกง่วงซึมหลังมื้ออาหารกลางวัน ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นหวัดง่าย เบื่ออาหาร อุจจาระเหลว สีลิ้นซีด มีฝ้าขาวหรือหนา หากผู้ป่วยทำงานหนักเกินไป อาการหูอื้อก็จะกำเริบรุนแรงขึ้น ส่วนหลักเกณฑ์การรักษาจะยึดเอาการบำรุงชี่ บำรุงเลือดเป็นหลัก
  • หูอื้อจากภาวะเลือดคั่ง ซึ่งระยะเวลาของโรคอาจจะสั้นหรือยาวก็ได้ นอกจากมีอาการหูอื้อแล้ว อาการอื่นๆ จะมีความสัมพันธ์กับการไหลเวียนของเลือด ที่บกพร่องอย่างใกล้ชิด พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีลิ้นสีแดงเข้มหรือมีจ้ำเลือดคั่งเป็นจุด เส้นเลือดดำใต้ลิ้นขอดใหญ่ขึ้นและเป็นสีคล้ำ ส่วนหลักเกณฑ์การรักษา จะยึดเอาการสลายเลือดคั่ง กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดเป็นหลัก
  • หูอื้อจากภาวะพิษลมร้อนจากสิ่งแวดล้อมคุกคามร่างกาย ซึ่งอาการหูอื้อจะกำเริบเร็วในระยะเวลาสั้น และมาพร้อมกับอาการหวัด

เมื่อแยกแยะสาเหตุและวิธีการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม อาการหูอื้อจึงค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด ดูแลอาการหูอื้อ หูมีเสียง รับคำปรึกษาจากแพทย์แผนจีนและผู้เชี่ยวชาญได้ที่ไอดีไลน์ @enwei

YouTube player
YouTube player
ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top