หน้าแรก  »  บทความสุขภาพ  »  ตับแข็งคืออะไร มีอาการอะไรบ้าง เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบได้หรือไม่

ตับแข็งคืออะไร มีอาการอะไรบ้าง เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบได้หรือไม่

ตับแข็งคืออะไร มีอาการอะไรบ้าง เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบได้หรือไม่

หน้าที่ของตับสำคัญไฉน

ตับเป็นเสมือนโรงงานเคมีของร่างกาย ทำหน้าที่กรองสารพิษออกจากเลือด ทำงานเกี่ยวกับกระบวนการทางเคมีและการเผาผลาญ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญหลายๆ อย่าง อาทิ

  • ผลิตน้ำดี เซลล์ตับจะผลิตน้ำดีและขับน้ำดีเข้าสู่ลำไส้ เพื่อช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน
  • สังเคราะห์โปรตีน โปรตีนในเลือดส่วนใหญ่จะสังเคราะห์ขึ้นจากเซลล์ตับ เช่น โปรตีนอัลบูมิน ที่ช่วยควบคุมการแลกเปลี่ยนน้ำระหว่างเนื้อเยื่อกับเลือด โปรตีนที่ช่วยห้ามเลือดเมื่อผนังหลอดเลือดได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น
  • กักเก็บอาหาร เซลล์ตับกักเก็บน้ำตาลกลูโคสจากเลือดในรูปแบบไกลโคเจน กักเก็บกรดอะมิโนจากเลือดมาสังเคราะห์เป็นโปรตีนในรูปแบบต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย กักเก็บไขมัน วิตามินเอและวิตามินบี 12 ฯลฯ หากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เช่น มีแต่โปรตีนแทบไม่มีคาร์โบไฮเดรต ตับจะเปลี่ยนโปรตีนเป็นคาร์โบไฮเดรต ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ เป็นต้น
  • ช่วยขับสารพิษ ตับจะช่วยขับยาและสารพิษที่ตกค้างให้ออกจากเลือด และสารพิษเหล่านี้ก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะ
  • ช่วยควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมของฮอร์โมน หากตับทำงานผิดปกติเป็นเวลานาน ก็จะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายผิดปกติไปด้วย ทำให้เกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อัณฑะฝ่อ ประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอ ฝ่ามือแดงผิดปกติ หรือมีจุดแดงที่หน้าอก หน้าท้อง ฯลฯ

ตับแข็งคืออะไร

ตับแข็งเป็นโรคตับเรื้อรังที่เซลล์ตับถูกทำลายจนกลายเป็นเยื่อพังผืดคล้ายปุ่มและแผลเป็น ที่มีลักษณะแข็งกว่าปกติจนตับไม่อาจทำหน้าที่ได้เป็นปกติ ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายมากเกินไป (ทำให้ฝ่ามือแดง จุดแดงรูปแมงมุมที่หน้าอก หน้าท้อง นมโตและอัณฑะฝ่อในชาย) การคั่งของสารบิลิรูบิน (ทำให้เป็นดีซ่าน) การสังเคราะห์โปรตีนที่ช่วยห้ามเลือดลดลง (ทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย) ความดันในหลอดเลือดดำของตับสูงขึ้น (ทำให้เกิดท้องมานหรือมีน้ำคั่งในช่องท้อง ม้ามโต หลอดเลือดขอดที่หลอดอาหาร ริดสีดวงทวาร) ตลอดจนผลกระทบอื่นๆ ต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย

ภาพเปรียบเทียบตับแข็งและตับปกติ

ตับแข็งมีอาการอย่างไรบ้าง

ในระยะแรกเริ่ม ผู้ป่วยตับแข็งอาจไม่มีอาการผิดปกติที่ชัดเจนหรือมีเพียงอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อย หลังจากนั้นเป็นแรมปี อาจเริ่มรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนเป็นบางครั้ง น้ำหนักลด เท้าบวม

  • อาจรู้สึกเจ็บบริเวณชายโครงด้านขวาเล็กน้อย อาจมีอาการตาเหลืองเล็กน้อย คันตามผิวหนัง ความรู้สึกทางเพศลดลง
  • บางรายอาจสังเกตเห็นฝ่ามือแดงผิดปกติ หรือมีจุดแดงที่หน้าอก หน้าท้อง
  • ในผู้หญิง อาจมีอาการประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอ มีหนวดขึ้น หรือมีเสียงแหบห้าวคล้ายผู้ชาย
  • ในผู้ชายอาจรู้สึกนมโตและเจ็บ อัณฑะฝ่อหรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

หลังจากเป็นอยู่หลายปีหรือยังดื่มเหล้าจัด ก็จะมีอาการท้องมาน เท้าบวม หลอดเลือดขอดที่ขา หลอดเลือดพองตัวที่หน้าท้อง อาจอาเจียนเป็นเลือดสดๆ ฯลฯ การตรวจพบและรักษาโรคตับแข็งในระยะแรก ตลอดจนการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญในการหยุดยั้งการลุกลามของโรค และเซลล์ตับส่วนที่ยังดีอาจซ่อมแซมส่วนที่เสียได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการยืดชีวิตของผู้ป่วยให้นานขึ้น แต่ถ้าปล่อยให้มีภาวะแทรกซ้อนชัดเจน เช่น ดีซ่าน ท้องมาน อาเจียนเป็นเลือด เป็นต้น ก็จะย่นระยะการมีชีวิตของผู้ป่วยให้สั้นลง

สาเหตุโรคตับแข็งในทัศนะการแพทย์ตะวันตก

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี
  • การดื่มเหล้าจัด
  • สารเคมีบางชนิดหรือการใช้ยาเกินขนาด เช่น พาราเซตามอล เตตราไซคลีน (ยารักษาโรคติดเชื้อต่างๆ หรือใช้ในการรักษาสิว) ไอเอ็นเอช ไรแฟมพิซิน AZT เป็นต้น
  • อาจเกิดจากภาวะขาดอาหารหรือภาวะแทรกซ้อนของโรคธาลัสซีเมีย ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง ภาวะทางเดินน้ำดีอุดตัน ฯลฯ
  • อาจเกิดจากเป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี มานานโดยไม่รู้ตัว
  • ภาวะไขมันพอกตับ

สาเหตุโรคตับแข็งในทัศนะการแพทย์จีน

การแพทย์จีนได้จัดโรคตับแข็ง ให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากการระบายพลังและการปรับดุลยภาพของพลังในตับเกิดความผิดปกติ ร่วมกับภาวะพิษร้อน-ชื้น (湿热) ที่สะสมในตับ

ในทัศนะการแพทย์จีน หนึ่งในหน้าที่สำคัญของตับคือ การระบายพลังและการปรับดุลยภาพของพลังในตับให้กระจายทั่วทั้งร่างกาย (肝主疏泄) ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ดังนี้

  • ระบายพลังให้กระจายทั่วทั้งร่างกาย หากความสามารถในการระบายพลังของตับลดลง พลังก็จะอั้นอยู่ภายในตับ (肝郁气滞) ทำให้เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก เส้นลมปราณของตับซึ่งอยู่บริเวณชายโครงด้านขวาก็จะติดขัด จึงเป็นเหตุทำให้เกิดอาการปวดแน่นบริเวณชายโครงด้านขวา ท้องอืด ท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อย เรอ เจ็บหรือคัดเต้านม หลอดเลือดพองที่หน้าท้อง นอกจากนี้ ภาวะพลังที่อั้นอยู่ภายในตับ ยังส่งผลให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มหรือเป็นห้อเลือด ไปกีดขวางกระบวนการเมตาบอลิซึมของน้ำในร่างกาย หากปล่อยไว้เรื้อรัง เซลล์ตับจำนวนมากก็จะถูกทำลายจนกลายเป็นเยื่อพังผืด และทำให้เกิดท้องมานขึ้นมาได้
  • กระตุ้นการย่อยอาหารและการลำเลียงอาหาร การระบายพลังของตับ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดต่อการย่อยอาหาร รวมทั้งการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม หากพลังในตับถูกกีดขวางไม่สามารถระบายออกได้ตามปกติ ก็จะทำให้ตับและม้ามทำงานไม่สัมพันธ์กัน พร้อมทั้งส่งผลกระทบต่อการสร้างและการขับน้ำดี ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร เจ็บบริเวณชายโครง จุกเสียดแน่นท้อง ท้องร่วงหรืออุจจาระหยาบไม่จับตัวเป็นก้อน ปากขม ดีซ่าน ฝ้าบนลิ้นขาวจาง ฯลฯ ซึ่งตรงกับอาการของโรคตับอักเสบ ตับแข็งและโรคที่เกิดจากเส้นประสาทบริเวณลำไส้ผิดปกติในการแพทย์ตะวันตก
  • ควบคุมการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ การที่ตับสามารถระบายพลังให้กระจายทั่วทั้งร่างกายได้หรือไม่นั้น มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ การทำหน้าที่ของตับส่วนนี้ตรงกับแนวคิดที่ว่า ตับมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติในการแพทย์ตะวันตก หากการระบายพลังของตับผิดปกติ ก็จะทำให้อารมณ์ผันผวน ขี้โมโห ขี้หงุดหงิด หรือซึมเศร้าได้ และอารมณ์ผันผวนนี้ ก็สามารถทำลายตับได้เช่นเดียวกัน

ส่วนภาวะพิษร้อน-ชื้น (湿热) ที่สะสมในตับ จะทำให้ภูมิคุ้มกันของตับต่ำลงและเอื้อต่อการรุกรานของเชื้อไวรัส ทำให้อาการอักเสบของตับรุนแรงมากขึ้น เซลล์ตับจึงถูกทำลาย ให้เป็นเยื่อพังผืดได้มากขึ้น

สาเหตุโรคตับแข็งในทัศนะการแพทย์จีน

สำหรับโรคตับแข็ง การแพทย์จีนนิยมใช้สมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณในการระบายพลังภายในตับให้กระจายทั่วทั้งร่างกาย ทำให้พลังไม่ถูกกีดขวาง กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ละลายห้อเลือด และขจัดภาวะพิษร้อน-ชื้นที่สะสมในตับ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของตับ ร่วมกับการบำรุงตับบำรุงม้ามไปพร้อมๆ กัน จากการวิจัยและทดลองทางการแพทย์และเภสัชวิทยาในปัจจุบันพบว่า ยาสมุนไพรจีนที่อยู่ในรูปแบบสารสกัดเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด เนื่องจากสามารถสกัดและควบคุมสารออกฤทธิ์ได้อย่างเข้มข้นและแม่นยำ โดยมีกลไกออกฤทธิ์สำคัญดังนี้

  • ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของตับ ลดระดับเอนไซม์ ALT,AST,ALK ในตับ และลดระดับบิลิรูบินรวม (TBil) ในเลือด จึงบรรเทาอาการอักเสบของเซลล์ตับและอาการดีซ่าน รวมทั้งส่งเสริมการฟื้นตัวและการซ่อมแซมของเซลล์ตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยฟื้นฟูกระบวนการเมตาบอลิซึมของโปรตีน (Protein) และโคลลอยด์ (Colloid) ของเซลล์ตับ ลดค่า LN, HA, PCIII, IV-C ในเลือด ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดระดับความรุนแรงของการก่อตัวของเยื่อพังผืดในเนื้อตับ เพื่อชะลอหรือหยุดยั้งการลุกลามของภาวะตับแข็ง และลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาการเจ็บบริเวณชายโครงด้านขวา ฯลฯ
  • ลดภาวะความดันสูงในหลอดเลือดดำของตับ เพื่อหยุดยั้งภาวะม้ามโตหรือลดขนาดความหนาของม้ามที่โตขึ้นได้ 1.0 cm± 0.2 cm โดยเฉลี่ย จึงช่วยชะลอหรือหยุดยั้งภาวะตับแข็งได้
  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของตับ เพื่อหยุดยั้งหรือชะลอเซลล์ตับ ถูกทำลายมากขึ้น

อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาการเจ็บบริเวณชายโครงขวา ตาเหลืองและอาการอื่นๆ ที่เกิดจากโรคตับแข็ง จึงค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด

ปรึกษาแพทย์จีน
ปรึกษาแพทย์จีน
Scroll to Top